วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (3 มิติ)

                ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (3 มิติ)
ซอฟต์แวร์ (อังกฤษsoftware) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง [1] หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ

                                                   ความสัมพันธ์กับฮาร์ดแวร์

ซอฟต์แวร์ เป็นชื่อเรียกเพื่อใช้เปรียบต่างกับฮาร์ดแวร์ ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพในการเก็บและประมวลผลของซอฟต์แวร์ ในคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานในแรมและประมวลผลผ่านซีพียู

                                                   ประเภทของซอฟต์แวร์


     การแบ่งเชิงเทคนิค อาจแบ่งซอฟต์แวร์เป็น 3 ประเภทหลักคือการแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็นหลายแบบ เช่น

  1. การแบ่งตามรูปแบบการส่งมอบ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
    • ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package software) ซอฟต์แวร์ที่มีการขาย ให้เช่า หรือให้บริการ โดยคิดค่าบริการเป็น transaction หรือ license
    • ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเงินเดือน (Outsources software development) เป็นการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานเฉพาะกับงานประเภทต่าง ๆ เฉพาะกิจกรรมไป ส่วนใหญ่ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นี้จะเป็นของผู้ที่ว่าจ้างให้พัฒนาขึ้น
  2. การแบ่งตามประเภทของการนำไปใช้งานหลัก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
    • ซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการทั่วไป (Enterprise software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับการทำงานเพื่อแก้ปัญหา/จัดการทรัพยากรของ บุคคล/องค์กร เช่น ซอฟต์แวร์บัญชี ซอฟต์แวร์จัดทำเอกสาร เป็นต้น
    • ซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (Mobile applications software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่านระบบปฏิบัติการพิเศษบนอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ (1) ซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมทางธุรกิจ (Business applications) เช่น Mobile banking, Mobile payment, GPS on Mobile, Mobile applications for business process management และ(2) ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการและบันเทิง (Entertainment applications) ซึ่งรวมเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
    • ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (Embedded System Software) เป็นซอฟต์แวร์ซึ่งฝังอยู่ไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อใช้สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ระบบ GPRS ระบบทำความเย็นอัจริยะ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นต้น

ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (2 มิติ)

                       

                          ซอฟเเวร์ออกเเบบ 2 มิติ

      ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับตามขั้นตอนของการทำงานชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมและทำขึ้นก่อน
แล้วนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง การสั่งการให้คอมพิวเตอร์
กระทำตามขั้นตอนและแผนงานต่าง ๆ ตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ได้ดำเนินการหรือจัดเตรียมไว้แล้ว ซอฟต์แวร์จึงเป็นผลที่มนุษย์จัดทำขึ้น
และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามกรอบของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้

          งานที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานหรือเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ งานที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน ปกติจะเป็นงานที่ทำซ้ำ ๆ กัน งานเกี่ยวกับการคิดคำนวณ งานที่ต้องการความรวดเร็วและความถูกต้องสูง งานที่มีผลลัพท์และกฏเกณฑ์ค่อนข้างแน่นอน งานที่ทำงานอัตโนมัติต่าง ๆ ตัวอย่างของงาน ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เช่น งานด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม งานการจัดการข้อมูล งานด้านการติดต่อทางไกล งานกราฟิก งานด้านการจำลองสถานการณ์เช่นการฝึกบิน การด้านการลงทุนและการเงิน งานด้านความบันเทิง การควบคุมเครื่องจักรกลอัตโนมัติ กึ่งอัตโนมัติ บุคลากรคอมพิวเตอร์ คนที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์นอกจากผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป แล้ว ยังอาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 

          1. กลุ่มบุคลากรทางด้านผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ เช่น นักออกแบบคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังอาจรวมถึงบุคลากรอื่น ๆ ในบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ เช่น ผู้จัดการ พนักงานต่าง ๆ 

          2. กลุ่มบุคลากรทางด้านผู้ผลิตซอฟต์แวร์ เช่น นักวิเคราะห์ระบบ นักเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ยังอาจรวมถึงบุคลากรอื่น ๆ ในบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เช่น ผู้จัดการ พนักงานต่าง ๆ 

          3. กลุ่มบุคลากรสนับสนุนและบริการ เช่น ทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เช่น ผู้ประมวผลข้อมูล ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์ระบบงานเพื่อใช้คอมพิวเตอร์ ผู้ผลิตผลงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังอาจรวมถึงบุคลากรอื่น ๆ ในบริษัทผู้ให้บริการทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น ผู้จัดการ พนักงานต่าง ๆ ภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาที่สำหรับเขียนเป็นคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน จัดเป็นภาษาประดิษฐ์(artificial language) ก็คือภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้น มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฏเกณฑ์ตายตัวและจำกัด มีการตีความหมายที่ชัดเจน มีรูปแบบเป็นทางการ ภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 3 ระดับ 

          1. ภาษาเครื่อง(machine language) เป็นภาษาที่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์แต่ละระบบ เขียนอยู่ในรูปรหัสของเลขฐานสอง คือ ประกอบด้วยเลข 0 และ 1 นำมาเขียนเรียงกัน ประโยคคำสั่งภาษาเครื่องจะประกอบด้วยส่วนที่ระบุให้คอมพิวเตอร์ทำอะไร และส่วนที่ระบุแหล่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ทำงานตามคำสั่ง

          2. ภาษาระดับต่ำ(low-level language) หรือภาษาแอสเซมบลี เป็นภาษาที่มีลักษณะใช้ตัวอักษรมาเรียงกันเป็นคำ แทนการใช้เลขฐานสอง โดยคำที่กำหนดขึ้นจะมีความหมายที่สามารถเข้าใจและจำได้ง่าย เป็นคำสั้น เช่น ADD หมายถึง การบวก ฯลฯ ภาษาแอสเซมบลีนี้ก็ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ และต้องแปลเป็นภาษาเครื่องก่อนเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะสามารถรับรู้และทำงานตามคำสั่งได้ เพราะเครื่องจะรับรู้เฉพาะภาษาที่เป็นเลขฐานสอง ตัวแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า แอสเซมเบลอร์ (Assembler) 

          3. ภาษาระดับสูง(high-level language) เป็นภาษาที่พัฒนาในยุคต่อ ๆ มา พยายามให้ไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ หรือดัดแปลงเล็กน้อยก็สามารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ระบบอื่นได้ และพยายามให้ใกล้เคียงกับภาษาธรรมชาติของมนุษย์ ภาษาระดับสูงนี้สั่งคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่ได้ต้องแปลเป็นภาษาเครื่องก่อนตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) จะแปลทีละคำสั่งและสั่งให้เครื่องทำงานทันทีทีละคำสั่งจนจบงาน
คอมไพเลอร์ (compiler) จะแปลทุกคำสั่งเก็บไว้เป็นแฟ้ม และเมื่อเรียกแฟ้มขึ้นมาก็สั่งให้เครื่องทำงานตามคำสั่งในแฟ้มภาษาเครื่องนั้น ดังนั้นการทำงานด้วยคอมไพเลอร์จึงเร็วกว่าอินเทอร์พรีเตอร์ 
ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา เช่น ภาษาซี ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาจาวา ภาษาโปรลอก ภาษาโลโก ฯลฯ     ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับตามขั้นตอนของการทำงานชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมและทำขึ้นก่อน
แล้วนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง การสั่งการให้คอมพิวเตอร์
กระทำตามขั้นตอนและแผนงานต่าง ๆ ตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ได้ดำเนินการหรือจัดเตรียมไว้แล้ว ซอฟต์แวร์จึงเป็นผลที่มนุษย์จัดทำขึ้น
และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามกรอบของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น



          งานที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานหรือเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ งานที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน ปกติจะเป็นงานที่ทำซ้ำ ๆ กัน งานเกี่ยวกับการคิดคำนวณ งานที่ต้องการความรวดเร็วและความถูกต้องสูง งานที่มีผลลัพท์และกฏเกณฑ์ค่อนข้างแน่นอน งานที่ทำงานอัตโนมัติต่าง ๆ ตัวอย่างของงาน ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เช่น งานด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม งานการจัดการข้อมูล งานด้านการติดต่อทางไกล งานกราฟิก งานด้านการจำลองสถานการณ์เช่นการฝึกบิน การด้านการลงทุนและการเงิน งานด้านความบันเทิง การควบคุมเครื่องจักรกลอัตโนมัติ กึ่งอัตโนมัติ บุคลากรคอมพิวเตอร์ คนที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์นอกจากผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป แล้ว ยังอาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 

          1. กลุ่มบุคลากรทางด้านผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ เช่น นักออกแบบคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังอาจรวมถึงบุคลากรอื่น ๆ ในบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ เช่น ผู้จัดการ พนักงานต่าง ๆ 

          2. กลุ่มบุคลากรทางด้านผู้ผลิตซอฟต์แวร์ เช่น นักวิเคราะห์ระบบ นักเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ยังอาจรวมถึงบุคลากรอื่น ๆ ในบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เช่น ผู้จัดการ พนักงานต่าง ๆ 

          3. กลุ่มบุคลากรสนับสนุนและบริการ เช่น ทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เช่น ผู้ประมวผลข้อมูล ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์ระบบงานเพื่อใช้คอมพิวเตอร์ ผู้ผลิตผลงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังอาจรวมถึงบุคลากรอื่น ๆ ในบริษัทผู้ให้บริการทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น ผู้จัดการ พนักงานต่าง ๆ ภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาที่สำหรับเขียนเป็นคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน จัดเป็นภาษาประดิษฐ์(artificial language) ก็คือภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้น มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฏเกณฑ์ตายตัวและจำกัด มีการตีความหมายที่ชัดเจน มีรูปแบบเป็นทางการ ภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 3 ระดับ 

          1. ภาษาเครื่อง(machine language) เป็นภาษาที่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์แต่ละระบบ เขียนอยู่ในรูปรหัสของเลขฐานสอง คือ ประกอบด้วยเลข 0 และ 1 นำมาเขียนเรียงกัน ประโยคคำสั่งภาษาเครื่องจะประกอบด้วยส่วนที่ระบุให้คอมพิวเตอร์ทำอะไร และส่วนที่ระบุแหล่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ทำงานตามคำสั่ง

          2. ภาษาระดับต่ำ(low-level language) หรือภาษาแอสเซมบลี เป็นภาษาที่มีลักษณะใช้ตัวอักษรมาเรียงกันเป็นคำ แทนการใช้เลขฐานสอง โดยคำที่กำหนดขึ้นจะมีความหมายที่สามารถเข้าใจและจำได้ง่าย เป็นคำสั้น เช่น ADD หมายถึง การบวก ฯลฯ ภาษาแอสเซมบลีนี้ก็ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ และต้องแปลเป็นภาษาเครื่องก่อนเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะสามารถรับรู้และทำงานตามคำสั่งได้ เพราะเครื่องจะรับรู้เฉพาะภาษาที่เป็นเลขฐานสอง ตัวแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า แอสเซมเบลอร์ (Assembler) 

          3. ภาษาระดับสูง(high-level language) เป็นภาษาที่พัฒนาในยุคต่อ ๆ มา พยายามให้ไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ หรือดัดแปลงเล็กน้อยก็สามารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ระบบอื่นได้ และพยายามให้ใกล้เคียงกับภาษาธรรมชาติของมนุษย์ ภาษาระดับสูงนี้สั่งคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่ได้ต้องแปลเป็นภาษาเครื่องก่อนตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) จะแปลทีละคำสั่งและสั่งให้เครื่องทำงานทันทีทีละคำสั่งจนจบงาน
คอมไพเลอร์ (compiler) จะแปลทุกคำสั่งเก็บไว้เป็นแฟ้ม และเมื่อเรียกแฟ้มขึ้นมาก็สั่งให้เครื่องทำงานตามคำสั่งในแฟ้มภาษาเครื่องนั้น ดังนั้นการทำงานด้วยคอมไพเลอร์จึงเร็วกว่าอินเทอร์พรีเตอร์ 
ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา เช่น ภาษาซี ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาจาวา ภาษาโปรลอก ภาษาโลโก ฯลฯ

เทคโนโลยีสะอาด

                                               

                                              เทคโนโลยีสะอาด คืออะไร
       ในปัจจุบัน ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงได้มีการนำเทคโนโลยีสะอาด (CLEAN TECHNOLOGY) หรือมีชื่ออื่นๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน หรือเหมือนกันอีกคือ การป้องกันมลพิษ (POLLUTION PREVENTION) หรือ P2) การผลิตที่สะอาด (CLEANER PRODUCTION หรือ CP) และการลดของเสีย ให้น้อยที่สุด (WASTE MINIMIZATION) มาใช้ ซึ่งทั้งหมดเป็นการป้องกัน ของเสียที่แหล่งกำเนิด แทนการควบคุมบำบัด และจัดของเสียแบบเดิม ที่เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ค่าใช้จ่ายสูงกว่า การใช้เทคโนโลยีสะอาด จะเป็นวิธีการ นำไปสู่มาตรฐาน การจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14000 ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ในวงการค้า ในโลกปัจจุบันด้วย                ความหมายโดยสรุปของ "เทคโนโลยีสะอาด" ก็คือ    กลยุทธ์ในการปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการ อย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดการทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ ให้เปลี่ยนเป็นของเสีย น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด จึงเป็นทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อม และการลดค่าใช้จ่าย ในการผลิตไปพร้อม ๆ กันด้วย สำหรับประเทศไทย การนำเทคโนโลยีสะอาด มาใช้จึงมี
                                                 วัตถุประสงค์เพื่อ
    1. เป็นการเสริมสร้าง ความสามารถ ในการแข่งขัน ในตลาดโลก เนื่องจากความได้เปรียบ ด้านต้นทุนและแรงงาน ของอุตสาหกรรมไทยมีน้อยลง 
    2. เป็นการพัฒนาขีดความสามารถ และประสิทธิภาพ ของการประกอบธุรกิจ เพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน ให้สอดคล้องกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ 

    1. การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด แบ่งได้เป็น 2 แนวทางใหญ่ ๆ คือ การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ และการเปลี่ยนแปลง กระบวนการผลิต
    1.1 การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ อาจทำได้โดย การออกแบบ ให้มีผลกระทบ ต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด หรือให้มีอายุการใช้งาน ยาวนานขึ้น เช่น ปรับเปลี่ยนสูตรของผลิตภัณฑ์ เพื่อลดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อผู้บริโภคนำไปใช้ ยกเลิกการใช้ชิ้นส่วน หรือองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์ ที่ไม่สามารถ นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และยกเลิกหีบห่อบรรจุ ที่ไม่จำเป็น เป็นต้น
    1.2 การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และการปรับปรุง กระบวนการดำเนินงาน
    1.2.1 การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ โดยการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ หรือมีความบริสุทธิ์สูง รวมทั้งลดหรือยกเลิก การใช้วัตถุดิบ ที่เป็นอันตราย เพื่อหลีกเลี่ยง การเติมสิ่งปนเปื้อน เข้าไปในกระบวนการผลิต และพยายามใช้วัตถุ ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น การเปลี่ยนหมึกพิมพ์เขียน จากประเภทใช้ตัวทำละลายเคมี ไปเป็นการใช้น้ำ เป็นตัวทำละลาย หรือเลิกใช้หมึกพิมพ์ ที่มีแคดเมียม ตลอดจนการไม่ใช้น้ำยาไซยาไนด์ หรือแคดเมียมในการชุบโลหะ เป็นต้น
    1.2.2 การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ทำได้โดยการออกแบบใหม่ เพิ่มระบบอัตโนมัติ เข้าช่วยปรับปรุง คุณภาพของอุปกรณ์ และแสวงหาเทคโนโลยีใหม่มาใช้ เช่น
    -เปลี่ยนอุปกรณ์ ตำแหน่งการวางอุปกรณ์ หรือระบบท่อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการเคลื่อนย้าย หรือขนถ่ายอุปกรณ์
ใช้ระบบอัตโนมัติ หรืออุปกรณ์ควบคุม ช่วยลดผลผลิตที่ด้อยคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน
   -ปรับปรุงการดำเนินการผลิต เช่นอัตราการไหลอุณหภูมิ ความดันหรือระยะเวลา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดปริมาณของเสีย
   -ติดตั้งอุปกรณ์การล้างน้ำ แบบทวนกระแส (COUNTER CURRENT FLOW)
   - ติดตั้งมอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ และควบคุมความเร็วของมอเตอร์ เพื่อลดการสิ้นเปลืองพลังงาน
สำหรับตัวอย่าง การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ได้แก่ การเปลี่ยนกรรมวิธี ในการล้างฟิล์ม ในอุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ โดยเปลี่ยนจากการใช้น้ำ ไปเป็นแบบแห้ง ตลอดจนการเลิกใช้ตัวทำละลาย (SOVENT) ที่มีสารคลอโรฟูออโรคาร์บอน (CFC) แล้วหันไปใช้ ตัวทำละลายที่ไม่มี CFC หรือใช้น้ำ และ DETERGENT ในการทำความสะอาดชิ้นงานแทน 
    1.2.3 การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน เป็นขั้นตอนที่ทำให้ ได้ผลิตภัณฑ์มากขึ้น เพราะผลิตภัณฑ์ที่เสียลดลง และยังทำให้เกิดของเสีย ที่จะต้องจัดการกำจัดลดน้อยลง โดยกำหนดให้มีขั้นตอนการผลิต กระบวนการงาน และขั้นตอนบำรุงรักษาที่ชัดเจน รวมถึงการจัดระบบ การบริหารการจัดการในโรงงาน ตัวอย่างเช่น วางแผนการผลิต เพื่อลดความจำเป็น ที่จะต้องล้างเครื่องจักร หรืออุปกรณ์บ่อย ๆ กำจัดขนาดของ จำนวนการผลิตแต่ละครั้ง ให้เหมาะสม เพื่อลดปริมาณของเสีย ติดตั้งเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ ในลักษณะที่ลดการรั่วไหล สูญเสียและปนเปื้อน ในระหว่างการผลิต ที่มีการเคลื่อนย้าย จนถ่ายชิ้นส่วนหรือวัสดุต่างๆ เป็นต้น
    2. การนำกลับมาใช้ใหม่ แบ่งออกได้เป็น 2 แนวทางคือ การนำผลิตภัณฑ์ มาใช้ใหม่ หรือการใช้ผลิตภัณฑ์หมุนเวียน และการใช้เทคโนโลยีหมุนเวียน
    2.1 การใช้ผลิตภัณฑ์หมุนเวียน โดยหาทางนำวัตถุดิบ ที่ไม่ได้คุณภาพมาใช้ประโยชน์ หรือหาทางใช้ประโยชน์ จากสารหรือวัสดุ ที่ปนอยู่ในของเสีย โดยนำมาใช้ ในกระบวนการผลิตเดิม หรือกระบวนการผลิตอื่นๆ
    2.2 การใช้เทคโนโลยีหมุนเวียน เป็นการนำเอาของเสีย ผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อนำเอาทรัพยากร กลับมาใช้อีก หรือเพื่อทำให้เป็นผลพลอยได้ เช่น การนำน้ำหล่อเย็น น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต และตัวทำละลาย ตลอดจนวัสดุอื่น ๆ กลับมาใช้ใหม่ในโรงงาน การนำพลังงานความร้อนส่วนเกิน หรือเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่
    การนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ (RECYCLE) ควรทำ ณ จุดกำเนิด มากกว่าการขนย้าย ไปจัดการที่อื่น โดยเฉพาะของเสีย ที่เกิดจากการปนเปื้อน ของวัตถุดิบ เช่น การกลั่นแยกตัวทำละลาย เพื่อใช้ขจัดคราบไขมัน ชิ้นงานกลับมาใช้ใหม่ หรือการแยกน้ำเสียด้วยไฟฟ้า เพื่อแยกดีบุก ทองแดง หรือตะกั่ว กลับมาใช้งาน ซึ่งจะทำได้ง่าย และมีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งลดอัตราเสี่ยง จากการปนเปื้อน ในระหว่างรวบรวมหรือขนถ่าย
            ที่มา   http://www.npc-se.co.th/npc_date/npc_previews.asp?