วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทเบื้องต้น

                    ความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทเบื้องต้น

1. ความหมายของการเขียนบท
          การเขียนบทเป็นการกำหนดเนื้อเรื่อง เป็นการกำหนดการเชื่อมโยงเหตุการณ์ และตัวละครต่างๆเข้าด้วยกัน โดยผ่านกระบวนการ ค้นหา รวบรวมจัดเรียบเรียง และตกแต่งปรับเข้าร่วมกัน ดั้งนั้น นักเขียนบทจึงต้องเป็นบุคคลพิเศษ ต้องเป็นนักอ่าน นักคิด นักวิชาการ นักฝัน และนักเขียนในเวลาเดียวกัน ไม่มีใครบอกได้ว่าควรเขียนอย่างไร หรือจะต้องทำอย่างไร การเขียนบท เป็นลักษณะพิเศษของแต่ละคน การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของบุคคลออกมาเป็นสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจจากความข้างต้น ท าให้มองเห็นความหมายของการเขียนว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น นักเรียน ใช้การเขียนบันทึกความรู้ ทำแบบฝึกหัดและตอบข้อสอบบุคคลทั่วไป ใช้การเขียนจดหมาย ทำสัญญา พินัยกรรมและค้ำประกัน เป็นต้น พ่อค้า ใช้การเขียนเพื่อโฆษณาสินค้า ทำบัญชี ใบสั่งของ ทำใบเสร็จรับเงิน แพทย์ ใช้บันทึกประวัติคนไข้เขียนใบสั่งยาและอื่นๆ เป็นต้น
การเขียน เป็นการแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ ที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้ผู้รับสารอ่าน เข้าใจ รับรู้ถึงสิ่งที่ได้สื่อสารออกไป เพื่อนำไปถ่ายทอดต่อกับบุคคลอื่นแทนการวิธีบอกเล่าปากต่อปาก


2. ความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทละคร
                  องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดสำหรับการจัดแสดงละครคือ “บทละคร” ซึ่งหมายถึงเรื่องราวที่ห่อหุ้มเนื้อหาสาระที่ผู้ประพันธ์ต้องการนำเสนอ บทละครอาจเป็นเรื่องจริงที่เคยเกิดขึ้น เป็นเรื่องราวจากตำนาน นิทาน เรื่องเล่า หรือเรื่องจากจินตนาการล้วนๆ ก็ได้ สุดแล้วแต่ที่ผู้แต่งจะนำมาเรียบเรียงและประพันธ์ขึ้นใหม่ในแบบของตนเอง นักวิชาการด้านศิลปะการละครส่วนใหญ่มักจะเปรียบเทียบบทละครไว้ว่าเป็น “หัวใจ” ของการสร้างละคร ส่วนการนำมาจัดแสดงและองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ฉาก แสง เสียง ฯลฯ ก็เปรียบได้กับร่างกาย อาภรณ์ หรือเครื่องประดับต่างๆ จึงมีผู้กล่าวไว้ว่า “ละครที่ดีทุกเรื่องจะต้องมาจากบทละครที่ดี แต่บทละครที่ดีไม่จำเป็นว่าจะนำไปสร้างเป็นละครที่ดีได้ทุกเรื่อง” กล่าวคือ ผู้สร้างละครที่ต้องการน าเสนอละครดี ควรจะเริ่มต้นจากการสรรหาบทละครดีมาผลิต แต่ในทางตรงกันข้าม หากผู้สร้างละครไม่มีฝีมือเพียงพอ ต่อให้น าบทละครที่ดีเลิศมาผลิต ก็ไม่อาจกล่าวว่าละครเรื่องนั้นเป็นละครดีได้ดังนั้นผู้สร้างบทละครจึงนับว่ามีความสำคัญต่อบทละครอย่างยิ่งยวดทีเดียว เพราะละครจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ก็ตามองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยสำเร็จประการแรกย่อมได้แก่บทละคร


3. ความหมายของละคร
           ละคร คือ ศิลปะการแสดงที่สร้างขึ้นเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตของมนุษย์ให้กับมนุษย์ มนุษย์กลุ่มแรกได้แก่ผู้แสดงส่วนกลุ่มหลังคือผู้ชม ซึ่งได้มาอยู่รวมกัน ในเวลาเดียวกัน ณ สถานที่เดียวกัน ซึ่งหมายถึงสถานที่จัดแสดง ไม่ว่าจะเป็นบนเวทีละคร หรือที่ใดๆ โดยเรื่องราวที่แสดงนั้นจะมีแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์ ผู้ชมได้แบ่งปันประสบการณ์ที่ตนเองเคยมี กับประสบการณ์ในละคร โดยการฟัง รับรู้ข้อมูล รู้สึกตาม มีอารมณ์ร่วม มีปฏิกิริยากับสิ่งที่เกิดขึ้นในการแสดงที่สำคัญก็คือ ละคร จะต้องเป็นการแสดงที่ “เป็นเรื่อง” การแสดงใดๆ ที่มีทั้งผู้แสดงและผู้ชม แต่มิได้แสดงเป็นเรื่องเป็นราว เช่น การแสดงแฟชั่นโชว์ การแสดงดนตรี การแสดงรำอวยพร การแสดงระบำเป็นชุดๆ ประเภทวิพิธทัศนา การแสดงกล ฯลฯ เหล่านี้ ไม่เรียกว่าละครเพราะขาดองค์ประกอบที่สำคัญไปอย่างหนึ่งคือ “เรื่อง”

4. ข้อคำนึงการเขียนบท

การเขียนบทจะให้สมบูรณ์นั้น ผู้เขียนบทจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ในการเขียนบท

4.1 แนวคิดหลัก (Idea & Main Idea) เป็นเสมือน โครงหรือแก่นของเรื่องนั้นๆ ผู้เขียนบทจะต้องจับ หรือดึงเอาข้อมูลหรือเนื้อหาบางอย่างมาเป็นแกนของเรื่องให้ได้

4.2 การเลือกเรื่องผู้เขียนและผู้จัดรายการบทความต้องพิจารณาว่า บทความควรจะเป็นเรื่องอะไร ที่ส่วนใหญ่สนใจ เหตุผลที่จะเขียนเรื่องนั้น ตั้งประเด็นให้แน่นอนลงไปว่าจะเขียนเพื่อจุดประสงค์อะไร สนับสนุนหรือคัดค้านอะไร หรือเพียงแต่ให้ข้อเท็จจริงแล้วเขียนให้อยู่ในประเด็น

4.3 การศึกษาค้นคว้า เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแล้วผู้เขียนบทต้องศึกษาค้นคว้าวิจัย รวบรวมข้อมูล เนื้อหาสาระต่างๆ มาวิเคราะห์แยกย่อยหัวเรื่องประเด็น กำหนดขอบเขตเนื้อหา ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย การค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น คุณภาพของบทจะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าบทนั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม โดยซักถามจากนักวิชาการที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ ค้นคว้าจากห้องสมุดหรือเอกสารสิ่งพิมพ์ที่จัดเก็บเอาไว้ เสร็จแล้วก็ลำดับเรื่องก่อนหลังตามความส าคัญของเหตุการณ์หรือเวลา

4.4 การจัดลำดับข้อมูลหรือเนื้อหา การจัดทำลำดับเนื้อหา เรื่องราวของบทเรียน เป็นการนำกรอบเนื้อหา ที่แบ่งออกเป็นเฟรมๆ ตั้งแต่เฟรมแรกจนถึงเฟรมสุดท้าย นำมาลำดับเรื่องก่อนหลังตามความสำคัญของเหตุการณ์หรือเวลา การจัดลำดับเนื้อหาต้อง เข้าใจได้ง่าย ไม่สับสน วกวน หรือยืดยาว ประโยคแต่ละประโยคควรมีแนวความคิดเดียว เป็นประโยคสั้นๆ ที่มีความหมายจบในประโยคนั้น แต่เพื่อความน่าฟังควรจะสลับกับประโยคยาวบ้าง ตามแต่ความสำคัญของใจความ

4.5 ความยาว สิ่งที่จำเป็นอีกประการหนึ่งสำหรับผู้เขียนบท ก็คือต้องทราบว่าเวลาสำหรับนำเสนอรายการนั้นมีระยะเวลาเท่าไร ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องเข้าใจถ่องแท้ เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของสื่อ ที่เกี่ยวกับเวลาด้วยแล้วจึงกำหนดรูปแบบของรายการ

4.6 การวางเค้าโครงเรื่องมีจุดประสงค์เพื่อให้งานชิ้นที่เขียนมีจุดหมายที่แน่นอนไม่วกเวียนออกนอกเรื่อง ทำให้วางแนวในการเขียนได้ถูกต้องและทำให้เขียนบทความตามที่ต้องการได้เร็วขึ้น และกำหนดบทนำ ตัวเรื่องและการจบให้มี
หลักเกณฑ์ที่ดี

5. หลักการเขียนบท

5.1 โครงเรื่อง ต้องมีลักษณะกะทัดรัด ไม่ยืดยาว ดำเนินเรื่องฉับไว ลักษณะของโครงเรื่องขึ้นอยู่กับชนิดของเรื่อง แต่เรื่องสั้นที่สร้างความประทับใจผู้อ่านมักเป็นเรื่องสั้นชนิดผูกเรื่องโดยหักมุมจบให้ผู้อ่านคาดไม่ถึง

5.2 ตัวละคร ไม่ควรมีหลายตัว ต้องมีลักษณะสมจริง สะท้อนชีวิตหรือเป็นตัวแทนของบุคคลจริง

5.3 ฉากต้องสมจริง ให้ภาพจินตนาการชัดเจน น่าสนใจ

5.4 ถ้อยคำหรือบทสนทนา สมจริง ใช้ภาษาประณีต คมคาย ชวนติดตาม


6. ขั้นตอนการเขียนบท

6.1 ก าหนดวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย สิ่งแรกที่ควรคำนึงก่อนลงมือเขียน คือวัตถุประสงค์ของการเขียน เขียนไปเพื่ออะไร ต้องการให้อะไรกับผู้ชมเช่น ความคิดความรู้ ความบันเทิง เปลี่ยนเจตคติ สร้างค่านิยมที่ดี ปลูกฝังความสำนึกที่ดีงามหรือให้เกิดทักษะ ความชำนิช านาญในด้านใด เสร็จแล้วต้องวิเคราะห์ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายนั่นก็คือเขียนเพื่อใคร
การศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจและคุณลักษณะอื่นๆ เช่นไร มีการก าหนดกลุ่มเป้าหมายหลัก (target group)
เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถเลือกใช้สื่อได้ตรงตามที่กลุ่มเป้าหมายเปิดรับ สามารถกำหนดเนื้อหา และรูปแบบได้ตรงตามที่กลุ่มเป้าหมายสนใจ ซึ่งจะทำให้การผลิตประสบความสำเร็จ

6.2 กำหนดหัวข้อเรื่อง เมื่อทราบเงื่อนไขต่างๆ ดังที่กล่าวมาในตอนต้นแล้ว จะทำให้กำหนดหัวข้อเรื่อง

6.3 กำหนดขอบข่าย เนื้อหา เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแล้วผู้เขียนบทต้องศึกษาค้นคว้าวิจัย รวบรวมข้อมูล เนื้อหาสาระต่างๆ มาวิเคราะห์แยกย่อยหัวเรื่องประเด็น กำหนดขอบเขตเนื้อหา ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย

6.4 ลงมือเขียนบท การเขียนบทถือเป็นหัวใจของขั้นก่อนการผลิต (Pre - Production) และกระบวนการผลิตทั้งหมด เนื่องจากบททำหน้าที่เสมือนแบบแปลนในการสร้างบ้าน นอกจากนั้นแล้วบทเป็นจุดชี้วัดจุดแรกที่จะบอกได้ว่าสื่อนั้นๆจะประสบความส าเร็จหรือไม่

7. ประเภทการเขียนบท

7.1 งานเขียนเรื่องสั้น เรื่องสั้น หมายถึง ร้อยแก้วเรื่องสมมุติที่มีขนาดสั้น มุ่งแสดงแนวคิดของเรื่องเพียงประการเดียว ผู้แต่งมักนำเสนอเหตุการณ์ สถานที่ ตัวละครและบทสนทนาในเรื่องให้มีเท่าที่จำเป็นจริงๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงแนวคิดที่แฝงไว้ในเรื่องได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน ไม่สับสนยอกย้อนเอดการ์ แอลลัน โพ (Edgar Allen Poe) นักเขียนชาวอเมริกันผู้ให้กำเนิดทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องสั้นเป็นคนแรก ได้ให้อธิบายถึงเรื่องสั้นไว้ว่า “เรื่องสั้นจะต้องมีความยาวพอสมควร สามารถอ่านได้รวดเดียวจบภายในเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่งถึงสองชั่วโมง เรื่องสั้นต้องมีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งเนื้อเรื่องและความคิด อีกทั้งต้องมีแนวคิดแนวเดียวและจุดสนใจเพียงจุดเดียว และด้วยเหตุที่เรื่องสั้นมีความยาวเป็นข้อจำกัด เนื้อเรื่องจึงมุ่งที่ความเข้มข้นและมักจะไม่มีความสลับซับซ้อน และใช้ตัวละครไม่มากในการ ดำเนินเรื่อง อีกทั้งยังนิยมใช้ผู้เล่าเรื่องเพียงคนเดียวตลอดทั้งเรื่องเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนซับซ้อน” (ยุวพาส์ (ประทีปะเสน) ชัยศิลป์วัฒนา, 2542 , หน้า 107 - 108)

7.2 งานเขียนนวนิยาย หมายถึงเรื่องแต่งบทร้อยแก้วที่มีขนาดความยาวเป็นเล่ม ผู้แต่งสมมุติตัวละคร เหตุการณ์ เรื่องราว และสถานการณ์ขึ้นมาให้มีลักษณะสมจริง รวมทั้งใช้พฤติกรรมในชีวิตจริงของมนุษย์เพื่อแสดงความคิดเสนอสาระและให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน เป็นร้อยแก้วเรื่องสมมุติที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเรื่องสั้น เพราะผู้แต่งสามารถแสดงเหตุการณ์ในเรื่องให้ละเอียดได้หลายแง่หลายมุม แสดงสถานที่ในเรื่องได้หลายแห่ง และสร้างตัวละครได้โดยไม่จำกัดจำนวน สุดแท้แต่ผู้แต่งจะเห็นว่าเหมาะสม นอกจากนี้แนวคิดของเรื่องก็อาจมีได้หลายประเด็น ทั้งแนวคิดเอกและแนวคิดรอง อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่านวนิยายมีขนาดยาวกว่าเรื่องสั้น แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดก าหนดได้ว่าจะต้องมีความยาวเพียงใด ทั้งนี้เพราะผู้ที่จะกำหนดความยาวของนวนิยายได้ก็คือผู้แต่ง นวนิยายเป็นรูปแบบวรรณกรรมที่ใหม่ มีชื่อเรียกว่า novel แปลว่าของใหม่ เป็นสิ่งสืบเชื้อสายมาจากการเล่านิยาย อันเป็นพฤติกรรมธรรมชาติของมนุษย์ แต่นวนิยายมีกลวิธีใหม่ขึ้นจากนิยายซึ่งเล่ากันมาแต่โบราณด้วยประการต่อไปนี้ นิยาย ทั้งของฝรั่งและของตะวันออก เป็นเรื่องเล่ายาว อาจเป็นร้อยกรองหรือร้อยแก้ว ผู้แต่งมักทำประหนึ่งว่าเป็นเรื่องจริงเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุค มักเป็นเรื่องอิงประวัติศาสตร์ หรือเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์ หรือตำนานทางศาสนา กลวิธีมีเพียงการบรรยาย ในการดำเนินเรื่อง ผู้แต่งหรือผู้เล่าจะลำดับเหตุการณ์ตามปฏิทิน คือเมื่อกล่าวถึงตัวละคร ก็จะกล่าวถึงตั้งแต่ยังเป็นเด็ก แล้วเดินเรื่องไปถึงเป็นหนุ่มเป็นสาว ไปจนถึงวัยชรา อาจมีกล่าวถึงตัวผู้เล่าในวัยชราเล่าถึงเรื่องตัวเองบ้าง แต่ก็คงดำเนินเรื่องด้วยวิธีลำดับเหตุการณ์ตามกาละดังกล่าวแล้ว การสนทนาหรือบทเจรจาจะใช้วิธีของการบรรยาย คือผู้แต่งจะเป็นผู้เล่าถึงการสนทนานั้นจะไม่ปล่อยให้ตัวในเรื่องสนทนากันตามสำนวนของตัวในเรื่อง

7.3 งานเขียนบทละคร การเขียนบทละคร หมายถึง การนำเรื่องราวที่แต่งขึ้นเอง หรือที่มีอยู่จากแหล่งใดๆ มาเขียนเป็นบทละคร ให้ถูกรูปแบบ (format) ของบทละคร ซึ่งอาจเป็นรูปแบบของบทละครเวที บทละครโทรทัศน์ หรือบทภาพยนตร์ เพื่อนำไปใช้ในการสร้างเป็นการแสดงละครต่อไป งานเขียนบทละคร คืองานเขียนที่เป็นเรื่องแต่งจำลองภาพชีวิต คล้ายกับนวนิยาย และเรื่องสั้น แต่มีข้อแตกต่างที่บทละครเป็นงานเขียนที่มิได้เขียนขึ้นเพื่อการอ่านอย่าง นวนิยายหรือเรื่องสั้น หากแต่เป็นการเขียนขึ้นเพื่อการแสดงละคร ที่อาจเป็นละครเวที (แสดงสด) หรือละครโทรทัศน์ (บันทึกภาพจากกระบวนการถ่ายทำการแสดง) ดังนั้นลักษณะของงานเขียนจึงมุ่งเน้นไปที่ความสอดคล้องของการจัดองค์ประกอบของ ฉาก เรื่องราว เหตุการณ์ พฤติกรรม และบุคลิกภาพของตัวละครที่สามารถเล่าเรื่องผ่านการแสดง หรือภาพและเสียงได้อย่างแนบเนียนตามเจตนาของผู้เขียน

7.3.1 รูปแบบในการสร้างบทละคร
     1) บทละครที่เป็นแบบฉบับ (Tradition Play) จะใช้แสดงในโรงละคร เรื่องราวที่น าเสนอมาจากวรรณกรรม นิทานพื้นบ้าน ถ้าเป็นวรรณกรรมเรื่องยาว เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา พระลอ ผู้ประพันธ์บทควรจะเลือกตอนที่น่าสนใจมาเสนอ จากนั้นเปิดเรื่องด้วยฉากที่นำเสนอตามแบบฉบับคือภาพหรือเหตุการณ์ สถานการณ์ของเรื่อง แนะนำตัวละครที่เป็นตัวเอกพร้อมทั้งข้อมูลที่จะนำไปสู่ความเข้าใจพฤติกรรมต่อ ๆ มาอย่างรวบรัดชัดเจน โดยพิจารณาจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

1 เหตุการณ์นั้นมีความสัมพันธ์ต่อเหตุการณ์อื่นๆ ของเรื่องหรือไม่
2 เหตุการณ์นั้นมีคุณค่า มีความจ าเป็นและสัมพันธ์กับละครทั้งเรื่องอย่างไร
3 เหตุการณ์ดังกล่าวเสริมสร้าง เน้นจุดมุ่งหมายประโยคหลักของเรื่องเช่นใด
4 เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดแรงกระตุ้นความสะเทือนใจต่อตัวละครเพียงใด
5เหตุการณ์นั้นก่อให้เกิดปฏิกิริยาการค้นพบอุปนิสัยและการกระทำของตัวละครอย่างไร

เมื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ แล้วผู้เขียนบทก็จะต้องสามารถสร้างบรรยากาศ อารมณ์ของเรื่อง ให้ความสำคัญต่อเหตุการณ์ และหาผลลัพธ์ของเหตุการณ์ที่มีต่อผู้ชมว่า ควรดำเนินเรื่องอย่างไรจึงจะน่าติดตามหรือทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วม มีความประทับใจในการแสดง เสมือนหนึ่งว่าได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นจริงๆ

          2) บทละครที่ไม่เป็นแบบฉบับ (Non Illusion Style) ผู้เขียนบทละครควรเน้นที่การเล่าเรื่อง          (Story Thea til) จินตนาการ (Imagination) การเริ่มเรื่องจะเป็นการเล่าเรื่องโดยใช้ลีลาท่าทางประกอบดนตรี การขับร้องเพื่อให้ผู้ชมทราบกติกาการนำเสนอ ต่อจากนั้นก็ใช้วิธีประสานเรื่องราวต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อทำให้แนวคิดของเรื่องมีคุณค่าให้ประโยชน์แก่ผู้ชม การเขียนบทประเภทนี้จึงเน้นที่บรรยากาศ รูปแบบการนำเสนอ การเรียบเรียงเรื่องราว กฎเกณฑ์ในการเข้าสู่เรื่องและออกจากเรื่องเมื่อเรื่องหนึ่งจบลง
         3) บทละครที่เด็กมีส่วนร่วมแสดง (Participatory Theatre) การเขียนบทประเภทนี้จะต้องเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการแสดง เช่น ได้เป็นส่วนหนึ่งของตัวละครที่คอยช่วยเหลือตัวละครในเรื่อง ช่วยเป็นฉาก ถืออุปกรณ์ประกอบฉาก ผู้ชมจะนั่งดูล้อมเป็นวง ทำให้ละครกลับเป็นประสบการณ์ตรงที่เด็ก ๆ ได้รับ ผู้ชมจะเชื่อบทบาทและปฏิบัติตามที่ตัวละครสั่ง


          4) บทละครเพื่อการศึกษา (TIE ย่อมาจาก Theatre In Education) เป็นละครเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความคิดของเยาวชนในโรงเรียน ก่อให้เกิดความคิดเชิงวิจารณ์นำไปสู่การพูดคุย การเขียนบทจะแบ่งออกเป็นฉาก ๆ แล้วใส่โครงเรื่องตัวละครประมาณ ๕-๖ คนลงไป ประเด็นที่นำเสนอมักเป็นปัญหาการขัดแย้ง เปิดโอกาสให้ผู้ชมร่วมแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์จริงและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในละคร 5) บทละครจากการรวบรวมข้อมูลและเทคนิคละครสด (Collective Improvisation Theatre) การจะได้บทละครจากการแสดงละครสดนั้น จะต้องสนใจการทำงาน


7.3.2 องค์ประกอบของบทละคร

อริสโตเติล (Aristotle) ปราชญ์ยิ่งใหญ่ชาวกรีก ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการละครไว้ในหนังสือเรื่อง โพเอทติกส์ (Poetics) ได้จำแนก และลำดับความส าคัญของละครออกเป็น 6 ส่วน คือ

          1) โครงเรื่อง (plot) หมายถึง การลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในละครอย่างมีจุดหมายปลายทาง และมีเหตุผลการวางโครงเรื่อง คือ การวางแผนหรือการกำหนดเส้นทางของการกระทำของตัวละคร ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆโครงเรื่องที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์ มีความยาวพอเหมาะ ประกอบด้วย ตอนต้น กลาง จบ เหตุการณ์ทุกตอนมีความสัมพันธ์กันอย่างสมเหตุสมผลตามกฎแห่งกรรม

           2) ตัวละคร และการวางลักษณะนิสัยตัวละคร (character and characterization)

            3) ตัวละคร คือ ผู้กระทำ ผู้ที่ได้รับผลจากการกระทำในบทละครมีความสำคัญเป็นอันดับรองจากโครงเรื่องการวางลักษณะนิสัยตัวละคร คือ การที่ผู้เขียนกำหนดให้ตัวละครมีลักษณะนิสัยอย่างไร ตามความเหมาะสมของเรื่องราวที่เสนอ ส่วนพัฒนาการของนิสัยตัวละครนั้น หมายถึง การที่นิสัยใจคอหรือเจตคติเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในชีวิตของตัวละคร มีพัฒนาการหรือเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากประสบเหตุการณ์ หรือเหตุการณ์มากระทบวิถีชีวิตตน

          4) ความคิด หรือแก่นเรื่อง (thought) ความคิดจัดอยู่ในความสำคัญอันดับที่ 3 ของละคร ซึ่งหมายถึง ข้อเสนอที่ผู้เขียนพิสูจน์ว่าเป็นเรื่องจริงจากเรื่องราว และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในละคร ความคิดที่อยู่เบื้องหลังเรื่องราวในละครก็คือ จุดมุ่งหมายหรือความหมาย (premise) หรือในปัจจุบันนิยมใช้คำว่า “แก่น” (theme)

         5) การใช้ภาษา (diction) การใช้ภาษา หมายถึง ศิลปะการถ่ายทอดเรื่องราว และความคิดของผู้ประพันธ์ออกมาจากคำพูดของตัวละครหรือบทเจรจา ซึ่งอาจเป็นร้อยแก้ว หรือร้อยกรอง ศิลปะการใช้ภาษาอาจเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำไปสู่การเขียนบทละครที่ดี ซึ่งผู้เรียนต้องศึกษา และวิเคราะห์ว่าบทละครเรื่องนั้นๆ เป็นละครประเภทใด รวมทั้งลักษณะ และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ต้องมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา และภาษาที่ใช้ต้องไม่ง่ายหรือยากจนเกินไป อีกทั้งยังสามารถใช้แสดงออกถึงลักษณะนิสัยของผู้พูด อันจะนำไปสู่เหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไป

             6) เพลง (song) เพลง หมายถึง ศิลปะการถ่ายทอดเรื่องราว และความคิดของผู้ประพันธ์ออกมา บทเพลงที่เป็นตัวละครจะต้องขับร้อง รวมไปถึงเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนเวที และความเงียบด้วย (ในแง่ละคร) ในการใช้เพลงจะต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์กับองค์ประกอบหลายอย่าง และพยายามกำหนดเพลงให้เป็นส่วนหนึ่งของบทละครเช่นเดียวกับบทเจรจา

            7) ภาพ (spectacle) บทบาทของตัวละคร ที่สามารถนำมาแสดงให้เห็นได้ด้วยใบหน้า ท่าทาง และจังหวะอาการเคลื่อนไหวที่แนบเนียน และเพิ่มพูนรสชาติให้แก่ละครเรื่องนั้นๆ


7.3.3 ขั้นตอนในการเขียนบทละคร


Edwin Wilson และ Alvin Goldfarb (ค.ศ. 1999, หน้า 131 – 135) ได้จัดลำดับขั้นตอนของการแต่งบทละครดังนี้
1) กำหนดหัวข้อ หรือประเด็นที่ละครจะนำเสนอ
2) พัฒนาประเด็นให้ชัดเจน และเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น
3) กำหนดวัตถุประสงค์ในการเขียน
4) หามุมมองที่จะเล่า ด้วยการกำหนดรูปแบบ และประเภทของบทละคร
5) พัฒนาโครงสร้างของละครให้สมบูรณ์
6) สร้างตัวละครให้มีชีวิต


7.4 งานเขียนรายการข่าว

        การเขียนข่าว คือ การรายงานข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนความคิดเห็น ของบุคคลสำคัญซึ่งเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจและประชาชนให้ความสำคัญสนใจ รวมทั้งมี ผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก สำหรับนักประชาสัมพันธ์ ข่าวก็คือหัวใจของงานประชาสัมพันธ์ที่จะรายงานภารกิจความก้าวหน้าของหน่วยงานให้สาธารณชนทราบ การเขียนข่าวเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ และต้องมีเทคนิคในการสร้างความเข้าใจ และความสนใจแก่ประชาชนความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของการประชาสัมพันธ์ ยังขึ้นอยู่กับความถี่ของผลงานข่าวที่นำเสนอในสื่อต่างๆแหล่งที่มาของข่าวในงานประชาสัมพันธ์

7.5 การเขียนบทโทรทัศน์

          บทโทรทัศน์ (Script) เป็นการนำเอาเนื้อหา เรื่องราวที่มีอยู่หรือจินตนาการขึ้นมา เพื่อนำเสนอให้ผู้ดู ผู้ชมได้รับรู้อย่างพอใจ ประทับใจ ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่ยอมรับกันว่า บทโทรทัศน์เป็นหัวใจของการผลิตรายการโทรทัศน์ ผู้เขียนบทโทรทัศน์ (Script Writer) จึงจำเป็นที่จะต้องมีความรอบรู้ในศาสตร์และศิลป์ด้านต่าง ๆ มีความเข้าใจในธรรมชาติ การรับรู้ของมนุษย์ ความชอบ ความสนใจ ความเชื่อ ความศรัทธา หลายสิ่งหลายอย่างที่จะไม่ทำให้เขากระทบกระทั่งหรือกระทำผิดไปจากที่สังคมทั่วไปยอมรับ การเขียนบทโทรทัศน์ ควรกำหนดได้ว่า รูปแบบของการนำเสนอเป็นลักษณะใด การแนะนำหน่วยงาน องค์กร เป็นสารคดี การสาธิตหรือปฏิบัติการ รูปแบบจะใช้การบรรยาย การเล่าเรื่อง หรือการใช้พิธีกร แนะนำบทโทรทัศน์ควรจะมีการใช้ภาษาที่สละสลวย ชวนอ่านชวนฟัง มีการเกริ่นนำ การดำเนินเรื่องและบทสรุปที่กระชับ สอดคล้อง รู้จักสอดแทรกมุขตลก เกร็ดความรู้ หรือเทคนิคแปลกๆ มีลีลาที่น่าสนใจ เพื่อเป็นสีสันของเรื่องราว การเขียนบทโทรทัศน์จะมีทั้งการร่างบทโทรทัศน์ และการเขียนบทโทรทัศน์ฉบับสมบูรณ์

7.6 การเขียนบทภาพยนตร์

           บทภาพยนตร์ คือ แบบร่างของการสร้างภาพยนตร์ บทภาพยนตร์จะมีความคล้ายคลึงกับวรรณกรรมตรงที่การบอกเล่าเรื่องราวว่า ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แต่จะแตกต่างที่บทภาพยนตร์นั้นต้องสื่อความหมายออกมาเป็นภาพ โดยใช้ภาพเป็นตัวสื่อความหมาย เป็นการเขียนอธิบายรายละเอียดเรื่องราว เมื่อได้โครงสร้างเรื่องที่ชัดเจนแล้วจึงนำเหตุการณ์มาแตกขยายเป็นฉากๆ ลงรายละเอียดย่อยๆ ใส่สถานการณ์ ช่วงเวลา สถานที่ ตัวละคร บทสนทนา บางครั้งอาจกำหนดมุมกล้องหรือ ขนาดภาพ ให้ชัดเจนเลยก็ได้ บทภาพยนตร์จึงเขียนเพื่อเป็นการเตรียมงานผลิต (pre-production) และฝึกซ้อมนักแสดงโดยเฉพาะ

7.6.1 องค์ประกอบของการเขียนบทภาพยนตร์
        1) เรื่อง (story) หมายถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยมีจุดเริ่มต้นและดำเนินไปสู่
จุดสิ้นสุด เรื่องอาจจะสั้นเพียงไม่กี่นาที อาจยาวนานเป็นปี หรือไม่รู้จบ (infinity) ก็ได้ สิ่งสำคัญในการดำเนิน
เรื่อง คือปมความขัดแย้ง (conflict) ซึ่งก่อให้เกิดการกระทำ ส่งผลให้เกิดเป็นเรื่องราว

        2) แนวความคิด (concept) เรื่องที่จะนำเสนอมีแนวความคิด (Idea) อะไรที่จะสื่อให้ผู้ชมรับรู้

          3) แก่นเรื่อง (theme) คือประเด็นเนื้อหาสำคัญหรือแกนหลัก (Main theme) ของเรื่องที่จะ
นำเสนอ ซึ่งอาจประกอบด้วยประเด็นรองๆ (sub theme) อีกก็ได้ แต่ต้องไม่ออกนอกแนวความคิดหลัก

        4) เรื่องย่อ (plot) เป็นจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่คิดขึ้นมาใหม่ เรื่องที่นำมาจากเหตุการณ์จริง เรื่องที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรม หรือแม้แต่เรื่องที่ลอกเลียนแบบมาจากภาพยนตร์อื่น สิ่งแรกนั้นเรื่องต้องมีความน่าสนใจ มีใจความสำคัญชัดเจน ต้องมีการมีการตั้งคำถามว่า จะมีอะไรเกิดขึ้นกับเรื่องที่คิดมา และสามารถพัฒนาขยายเป็นโครงเรื่องใหญ่ได้

       5) โครงเรื่อง (treatment) เป็นการเล่าเรื่องล าดับเหตุการณ์อย่างมีเหตุผล เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์จะต้องส่งเสริมประเด็นหลักของเรื่องได้ชัดเจน ไม่ให้หลงประเด็น โครงเรื่องจะประกอบด้วยเหตุการณ์หลัก (main plot) และเหตุการณ์รอง (sub plot) ซึ่งเหตุการณ์รองที่ใส่เข้าไป ต้องผสมกลมกลืน
เป็นเหตุเป็นผลกับเหตุการณ์หลัก

         6) ตัวละคร (character) มีหน้าที่ด าเนินเหตุการณ์จากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดสิ้นสุดของเรื่อง ตัวละครอาจเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเป็นนามธรรมไม่มีตัวตนก็ได้ การสร้างตัวละครขึ้นมาต้องคำนึงถึงภูมิหลังพื้นฐาน ที่มาที่ไป บุคลิกนิสัย ความต้องการ อันก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆของตัวละครนั้นๆ ตัวละครแบ่งออกเป็นตัวแสดงหลักหรือตัวแสดงนำ และตัวแสดงสมทบหรือตัวแสดงประกอบ ทุกตัวละครจะต้องมีส่งผลต่อเหตุการณ์นั้นๆ มากน้อยตามแต่บทบาทของตนตัวเอกย่อมมีความสำคัญมากกว่าตัวรองเสมอ

         7) บทสนทนา (dialogue) เป็นถ้อยคำที่กำหนดให้แต่ละตัวละครได้ใช้แสดงโต้ตอบกัน ใช้
บอกถึงอารมณ์ ดำเนินเรื่อง และสื่อสารกับผู้ชม ภาพยนตร์ที่ดีจะสื่อความหมายด้วยภาพมากกว่าคำพูด การประหยัดถ้อยคำจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ความหมายหรืออารมณ์บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ถ้อยคำมาช่วยเสริมให้ดูดียิ่งขึ้นก็ได้

7.6.2 โครงสร้างการเขียนบทภาพยนตร์
1) จุดเริ่มต้น (beginning) ช่วงของการเปิดเรื่อง แนะนำเรื่องราว ปูเนื้อเรื่อง
2) การพัฒนาเรื่อง (developing) การด าเนินเรื่อง ผ่านเหตุการณ์เดียวหรือหลายเหตุการณ์ เนื้อเรื่องจะมีความซับซ้อนมากขึ้น
3) จุดสิ้นสุด (ending) จุดจบของเรื่อง แบ่งออกเป็นแบบสมหวัง (happy ending) ทำให้รู้สึกอิ่มเอมใจ และแบบผิดหวัง (tragedy/ sad ending) ท าให้รู้สึกสะเทือนใจ

7.6.3 ขั้นตอนในการเขียนบทภาพยนตร์

           1) การค้นคว้าหาข้อมูล (research) เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม

         2) การเขียนเรื่องย่อ (synopsis) คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่ค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)

       3) การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment) เป็นการเขียนค าอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้ส าหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักส าคัญ (premise)
ที่ง่ายๆ น่าสนใจ
      4) บทภาพยนตร์ (screenplay) สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีนหลัก/ลำดับ(master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอนประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ลำดับ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที

      5) บทถ่ายทำ (shooting script) คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลื่อนภาพ(fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่นๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง

       6) บทภาพ (story board) คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งลำดับหรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่างๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney น ามาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย โดยสตอรี่บอร์ดจะประกอบไปด้วยรายละเอียดดังนี้
1 ตัวละครอะไรบ้างอยู่ในซีน ตัวละครหรือวัตถุเคลื่อนไหวอย่างไร
2 ตัวละครมีบทสนทนาอะไรกันบ้าง
3ใช้เวลาเท่าไหร่ระหว่างซีนที่แล้วถึงซีนปัจจุบัน
4 ใช้มุมกล้อง ใช้กล้องอะไรบ้างในซีนนั้นๆ ใกล้หรือไกล หรือใช้มุมอะไร

8. ความส าคัญของการเขียนบทและประโยชน์ที่ได้รับ

     1) เป็นเครื่องมือสื่อสารอย่างหนึ่งของมนุษย์ ที่ต้องการถ่ายทอดความคิดความเข้าใจ และ
ประสบการณ์ของตนเองออกเสนอผู้อ่าน

      2) เป็นการเก็บบันทึกรวบรวมข้อมูล ที่ตนได้มีประสบการณ์มาก่อน

     3) เป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง ในเรื่องที่ผู้เขียนเกิดความรู้สึกประทับใจหรือมีประสบการณ์

     4) เป็นเครื่องถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรม เช่น ถ่ายทอดสมัยหนึ่งไปสู่อีกสมัยหนึ่ง เป็นต้น

      5) เป็นเครื่องมือพัฒนาสติปัญญา เนื่องจากการเรียนรู้ทุกอย่างต้องอาศัยการเขียนเป็นเครื่องมือสำหรับบันทึกสิ่งที่ได้ฟังและได้อ่านและนำไปสู่การพัฒนาสืบไป

       6) เป็นการสนองความต้องการของมนุษย์ตามจุดประสงค์ที่แต่ละคนปรารถนา เช่น เพื่อต้องการทำให้รู้เรื่องราว ทำให้รัก ทำให้โกรธและสร้างหรือทำลายความสามัคคีของคนในชาติ

       7) เป็นการแสดงออกซึ่งภูมิปัญญาของผู้เขียน

      8) เป็นอาชีพอย่างหนึ่ง

      9) เป็นการพัฒนาความสามารถและบุคลิกภาพ ทำให้บุคคลมีความเชื่อมั่นในตัวเองในการแสดง
ความรู้สึกและแนวคิด

     10) เป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

9. การเลือกหัวข้อเรื่อง

      การเลือกหัวข้อเรื่องหมายถึงการพิจารณาเนื้อหาหรือสาระของเรื่อง ว่ามีความเหมาะสมที่จะนำมากล่าวหรือไม่ การเลือกหัวข้อเรื่องจึงมิได้หมายถึงการเลือกชื่อเรื่อง แต่ต้องคำนึงถึงเนื้อหาหรือสาระของเรื่องเป็นสำคัญ ดังนั้นขั้นตอนในการเลือกหัวข้อเรื่องบางครั้งต้องใช้เวลามากกว่าตอนที่ต้องพูด หรือเขียนเรื่องนั้นจริงๆ เพราะจะต้องประมวลความรู้ความคิดที่เกี่ยวกับเนื้อหาของเรื่องนั้น ให้เห็นแจ้งทะลุก่อน จึงจะลงมือเขียน หลักการเลือกหัวข้อเรื่อง มีข้อควรพิจารณาดังนี้
       1) หัวข้อเรื่องนั้นสามารถจำกัดขอบข่ายได้หรือไม่ หัวข้อเรื่องที่ดีนั้นผู้เขียนต้องสามารถกำหนดเนื้อหาให้อยู่ในขอบข่ายที่จำกัดได้ คือสามารถควบคุมเนื้อความของเรื่องให้พอเหมาะพอดีกับความยาวที่กำหนดให้ อุปมาเหมือนการเลือกดอกไม้ปักลงในแจกัน ถ้าดอกไม้มีปริมาณมากเกินไป แต่แจกันมีขนาดเล็กย่อมไม่สามารถบรรจุดอกไม้ทั้งหมดลงในแจกันได้ จึงจำเป็นต้องเลือกสรรดอกไม้ให้มีปริมาณและขนาดที่เหมาะกับแจกัน จึงจะปักลงในแจกันได้อย่างเหมาะเจาะงามตา หัวข้อเรื่องก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการเลือกกำหนดดอกไม้ที่ปักลงในแจกัน ถ้าหัวข้อเรื่องใดมีเนื้อหาหรือขอบข่ายกว้างเกินไปซึ่งไม่สามารถจำกัดขอบข่ายได้นั้นก็ไม่ควรที่จะเลือก
          2) หัวข้อเรื่องนั้นเหมาะกับผู้ฟังผู้อ่านหรือไม่ จุดประสงค์ที่สำคัญอย่างยิ่งข้อหนึ่งในการพูดหรือเขียน คือการสื่อความรู้และความคิดไปยังผู้อ่าน ให้ผู้อ่านได้รับรู้และเข้าใจ ดังนั้นหัวข้อเรื่องที่เลือก ควรมีเนื้อหาตรงกับความสนใจ รสนิยม อารมณ์ และระดับสติปัญญาของผู้รับสารนั้นๆ การเลือกหัวข้อเรื่องที่มีเนื้อหาซึ่งผู้ฟังและผู้อ่านไม่เข้าใจ จะทำให้ผลของการสื่อสารย่อมจะได้ประโยชน์น้อยกว่าที่คาดคิดเอาไว้
        3) หัวข้อเรื่องนั้นเหมาะกับความสามารถของผู้กล่าวผู้เขียนหรือไม่ หัวข้อเรื่องใดที่มีเนื้อหาตรงกับความรู้ สติปัญญา และความสนใจ หรือเป็นหัวข้อเรื่องที่มีความรู้ดีก็ควรเลือกเขียนเรื่องนั้น
       4) หัวข้อเรื่องนั้นมีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอหรือไม่ หัวข้อเรื่องที่จะเขียนให้เนื้อหาสมบูรณ์ได้นั้นจำเป็นต้องมีข้อมูลหรือรายละเอียดที่สนับสนุนมากพอ กล่าวคือสามารถหารายละเอียดหรือข้อมูลที่จะประกอบเนื้อหา เพื่อให้มีหลักฐานและเหตุผลชัดแจ้งที่ผู้อ่านผู้ฟังจะเชื่อถือได้ โดยเฉพาะหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวกับความจริงหรือเป็นวิชาการ จะกล่าวอะไรออกมาลอยๆ โดยไม่มีข้อมูลอย่างชัดเจนไม่ได้ ข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาประกอบนั้น นอกจากจะทำให้เนื้อหาสมบูรณ์แล้ว ยังช่วยให้ผู้ฟังผู้อ่านสามารถสืบค้นหาความจริงหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริง และประเมินผลงานของเรื่องนั้นได้อีกด้วย ว่าผู้พูดผู้เขียนได้กล่าวอย่างมีน้ำหนักหรือยกเมฆเดาเอา
       5) หัวข้อเรื่องนั้นมีเนื้อหาชัดเจนหรือไม่ หัวข้อเรื่องบางเรื่องอาจก่อให้เกิดปัญหาในการวินิจฉัยว่าจะตัดสินใจอย่างไร เช่น เป็นหัวข้อเรื่องซึ่งกำลังถกเถียงกันยังไม่ยุติก็ดี หรือเป็นหัวข้อเรื่องที่มีเนื้อหาคลุมเครือก็ดี หรือเป็นหัวข้อเรื่องที่ไม่สามารถที่จะตีประเด็นความให้แตกได้ก็ดี หัวข้อเรื่องเหล่านี้ล้วนมีปัญหาไม่ควรจะเลือก เพราะทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์เรื่องนั้นได้อย่างทะลุปรุโปร่ง เหมือนกับการเดินทางที่ยังคาดคะเนไม่ได้ว่าจุดหมายปลายทางข้างหน้าเป็นอย่างไร ดังนั้นควรเลือกหัวข้อเรื่องที่มีประเด็นชัดเจน และเนื้อหานั้นลงตัวเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
       6) หัวข้อเรื่องนั้นท้าทายและเป็นสิ่งใหม่หรือไม่ ความแปลกใหม่เป็นสิ่งที่คนทั่วไปสนใจ เพราะคนส่วนมากไม่ชอบฟังหรืออ่านเรื่องช้าๆ ดังนั้น ถ้ามีโอกาสเลือกหัวข้อเรื่องได้อย่างอิสระ ควรเลือกหัวข้อเรื่องที่สามารถนำเสนอความคิดเห็นแปลกๆ ใหม่ๆ ดีกว่าเลือกหัวข้อเรื่องที่มีผู้เคยเขียนไว้แล้ว เพราะหัวข้อเรื่องที่นำเสนอความคิดเห็นใหม่ๆ ลงไปนั้น ย่อมท้าทายผู้ฟังผู้อ่านมากกว่ากัน ทั้งยังสร้างสรรค์เรื่องราวใหม่ๆ ให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วย
       7) หัวข้อเรื่องนั้นมีจุดมุ่งหมายอย่างไร ตามปกติการพูดหรือเขียนเรื่องควรจะได้ตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้ล่วงหน้าก่อนว่า พูดหรือเขียนเรื่องนั้นไปทำไม แนวของเรื่องจะเป็นอย่างไร และจะใช้กลวิธีในการเดินเรื่อง เพื่อให้ผู้ฟังผู้อ่านเข้าใจได้ตรงจุดหมายอย่างไร เช่น ใช้วิธียกตัวอย่าง เปรียบเทียบ หรือวิเคราะห์ ทั้งนี้เพื่อให้เนื้อความทุกตอนของเรื่องกลมกลืนและประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้เรื่องมีเอกภาพและทรงไว้ซึ่งใจความสำคัญเพียงอย่างเดียว



ที่มา  https://th-th.facebook.com/notes/9filmfest/การเขียนบทภาพยนตร์/332742250114276

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น